ความหมายและความสำคัญของวัฒนธรรมในองค์การ
วัฒนธรรมองค์การ
เป็นวิถีชีวิตที่คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งยึดถือปฏิบัติสืบต่อกันมา
ซึ่งจะกลายเป็นนิสัยและความเคยชิน และกลายเป็นขนบธรรมเนียมประเพณี
วิถีประพฤติปฏิบัติ ความเชื่อ ค่านิยม รวมทั้งภาษาวัตถุสิ่งของต่าง ๆ
วัฒนธรรมทำให้คนรวมตัวกันเป็นสังคม มีการอยู่ร่วมกันอย่างมีระเบียบ
ผลของวัฒนธรรมจะออกมาในรูปจริยธรรม
ตลอดจนค่านิยมที่ใช้ในการตัดสินใจหรือวินิจฉัยสั่งการ
จริยธรรมองค์การถือเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้การดำเนินงานขององค์การก้าวหน้า
และส่งผลให้องค์การได้รับความเชื่อถือจากสังคม
ดังนั้นองค์การทุกประเภทจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องนำจริยธรรมมาใช้ในการ
บริหารและแก้ไขปัญหาองค์การอย่างถูกวิธีเพื่อให้ได้รับความเชื่อถือ
ภาพพจน์ที่ดี อันนำมาซึ่งชื่อเสียง
เกียรติยศและความก้าวหน้าในระยะยาวขององค์การ
ในองค์การทั้งหลายซึ่งเกิดจากการรวมกลุ่มของคนอย่างมีระเบียบนั้น
ถ้าเรามองที่ปัจเจกบุคคลจะเห็นว่า บุคคลจะกระทำการไปสู่เป้าหมายใด ๆ
ได้นั้น เขาอาศัยศูนย์รวมของใจหรือจิตใจเป็นตัวนำดังที่มักกล่าวกันว่า
“สำเร็จด้วยใจ” เมื่อปัจเจกบุคคลมารวมกันในองค์การมี
จิตใจมากมายแตกต่างกันไป
สิ่งที่จะผูกความแตกต่างของจิตใจเหล่านี้ให้อยู่ด้วยกันได้และทำงานไปในทิศ
ทางเดียวกันได้ หรือมีค่านิยมในเรื่องต่าง ๆ
โดยเฉพาะค่านิยมที่เกี่ยวกับงานในหน่วยงานที่ตนเองมีวิถีชีวิตอยู่สอดคล้อง
กันได้ สิ่ง ๆ นั้นก็คือ “วัฒนธรรม” ในองค์การ
การศึกษาวัฒนธรรมในองค์การได้รับความสนใจมากขึ้นในปัจจุบัน
เมื่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมมีผลกระทบต่อองค์การ โดยเฉพาะในด้านเทคโนโลยี
เทคโนโลยีสามารถทำให้งานง่ายขึ้นและทำให้การทำงานในยุคข้อมูลข่าวสารหรือยุค
โลกาภิวัฒน์สามารถจัดขนาดองค์การให้เล็กลง
มีการกระจายอำนาจออกไปให้บริการอย่างกว้างขวางเฉพาะพื้นที่ เฉพาะราย
เฉพาะด้าน จนกลุ่มคนเหล่านี้มีเป้าหมายเฉพาะของกลุ่ม เช่น กลุ่มนิติกร
กลุ่มบัญชี กลุ่มบริหารงานบุคคล และกลุ่มอื่น ๆ
กลุ่มเหล่านี้อาจมีชื่อเป็นแผนก ฝ่าย กอง กรม หรือกระทรวงก็ได้
อย่างไรก็ดีจะมีสายโยงใยคือ วัฒนธรรมในการทำงาน
เป็นศูนย์รวมของจิตใจจากองค์การต่าง ๆ
เพื่อให้องค์การสามารถทำงานมุ่งไปสู่ทิศทางเดียวกันได้
ความหมายของวัฒนธรรมในองค์การ
กอร์ดอน (Gordon. 1999: 342)
กล่าวว่าวัฒนธรรมองค์การคือสิ่งที่อธิบายสภาพแวดล้อมภายในองค์การที่รวมเอา
ข้อสมมุติ ความเชื่อ
และค่านิยมที่สมาชิกขององค์การมีร่วมกันและใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน
เพื่อมีปฏิสัมพันธ์กับโครงสร้างอย่างเป็นทางการในการกำหนดรูปแบบพฤติกรรม
วิรัช สงวนวงศ์วาน (2547: 20) กล่าวว่า
วัฒนธรรมองค์การคือค่านิยมและความเชื่อที่มีร่วมกันอย่างเป็นระบบที่เกิด
ขึ้นในองค์การ และใช้เป็นแนวทางในการกำหนดพฤติกรรมของคนในองค์การนั้น
วัฒนธรรมองค์การจึงเป็นเสมือน
No comments:
Post a Comment