Ad

Tuesday, May 5, 2015

mcs 3104 บทที่ 3 (ไม่สมบูรณ์)


หลักการโฆษณา MCS 3104

พ่อค้ามักโฆษณาผ่าน ผู้ทรงคุณวุฒิ

เช่น ผู้มีชื่อเสียง (ดารา) หรือใช้ ผู้ที่มีเสน่ห์ (สาวสวย หนุ่มหล่อ)  

โดยการหลอกล่อผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า

  1. รูป
  2. เสียง เช่น การใช้เสียงดุดันในการประท้วง ให้ลูกทีมมีใจเดือดดาลไปด้วย
  3. กลิ่น
  4. รส
  5. สัมผัส
ทำเป็นให้สิทธิพิเศษ เช่น แกล้งว่าลดราคา ทำเป็นว่ามีของแถม ทำเป็นว่าแจก ทั้งที่จริงๆแล้วไม่ไม่ลด แลก แจก แถมหรอก แต่เป็นราคาที่ตั้งใจจะขายในราคานั้นๆอยู่แล้ว
ใช้วิธีแสดงการเปรียบเทียบ
มักโฆษณาโดยใช้ testimonial มาโชว์ตัวว่าใช้แล้วดีอย่างนั้นอย่างนี้
การใช้หลักฐานทางตัวเลข สถิติ
เช่น "99 เปอร์เซนต์ ใช้แล้ว รูฟิต"
การใช้ความรวดเร็ว
ตย "รถไฟปูแดงนั่งหลับงีบเดียว 800 กิโลเมตร"
การใช้ความกลัว
เช่น "อันตรายจากถุงยางที่ไม่ได้มาตรฐาน" "อันตรายจากบุหรี่" "ใช้แล้วบ้านจะปลอดถัย" "เหลืออีกแค่ 10 คันก่อนปรับราคาใหม่" หรือที่เจอบ่อยคือ "ลดราคาวันนี้วันสุดท้าย" "ราคานี้ลดพิเศษเฉพาะ 10 ชิ้นแรก"
การให้รายละเอียด หรือ การแจ้งข้อดีของรายละเอียด (เป็นรายละเอียดที่เป็นจุดบวก)
เช่น "แชมพูสุดทีน ใช้แล้วรักษารังแคได้ภายใจ 48 ชั่วโมง"

คำถาม จงหารายละเอียดที่น่าจูงใจในการเรียนราม

ตอบ หน่วยกิจถูก ไม่ต้องสอบเข้า เลือกคณะได้ดั่งใจ(เลือกสาขาที่ตรงใจได้) ไม่เช็คชื่อเวลาเรียน(ทำงานไปด้วยเรียนไปด้วยได้) อยู่ต่างจังหวัดก็เรียนได้ สอบแบบอีเทสได้ พ่อค้ามักจะใช้การโฆษณาที่ไม่บอกความจริงทั้งหมด บอกความจริงด้านเดียว ดังนั้น การเรียนวิชานี้ช่วยให้เรารู้เท่าทันเลห์เหลี่ยมของพ่อค้า ทำให้ไม่ตกเป็นเหยื่อง่ายเกินไป แท้จริงแล้ว การโน้มน้าวใจ มีเป้าหมาย เพื่อให้ประชาชนได้รับผลประโยชน์ที่ดี แต่ปัจจุบันมักนำไปใช้ในทางที่ไม่ดี บิดเบือนความจริง อำพรางความจริง  

การประชาสัมพันธ์ (Public Relations)

คือการประชาสัมพันธ์จากหน่วยงาน ไปสู่ประชาชนเพื่อให้ประชาชน มีความเข้าใจที่ดี ร่วมมือที่ดี ให้การสนับสนุนที่ดี ความหมายใกล้เคียง คือการทำให้มีคนรักคนชอบองค์การของเรา แย่หน่อยที่ ผู้โฆษณามักจะคิดจาก "ทำอย่างไรจึกจะทำให้สินค้าขายดี" จึกทำให้เกิดการโฆษณาที่บิดเบือนความจริง ขาดจรรยาบรรณ การประชาสัมพันธ์ คือ ศาสตร์และศิลป์แห่งการจูงใจ ที่จะให้ประชาชนเกิดความนิยมชมชอบต่อหน่วยงาน องค์กร เสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดี การประชาสัมพันธ์ ไม่ได้มุ่งหวังเรื่องยอดขาย แต่ต้องการทำให้ประชาชนมององค์กรไปในทิศทางที่ดี based on sack คือการประชาสัมพันธ์แบบตรงไปตรงมา

สิ่งที่นักประชาสัมพันธ์ต้องเตรียมตัว

  1. รู้จักสถาบัน หรือองค์กรนั้น ว่าเป็นมาอย่างไร ทำอะไร โครงสร้างเป็นอย่างไร จะทำอะไรต่อไป ประชาชนมักจะ คาดหวังว่าถ้าถามอะไรจากผู้ประชาสัมพันธ์ แล้วจะได้รับคำตอบ
  2. กลุ่มประชาชนเป้าหมาย เด็ก สาวๆ หนุ่มๆ แม่บ้าน
  3. ประชามติ รู้ว่าประชาชนคิดอย่างไรกับองค์กร
  4. การวางแผน กำหนดทิศทางต่างๆในการประชาสัมพันธ์
สรุปว่าการประชาสัมพันธ์ จึงทำเพื่อโน้มน้าวใจ ต้องการมีอิทธิพลเหนือประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ต้องการให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายชื่นชอบ และสนับสนุนการทำงานของหน่วยงาน xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx การวางแผนในการประชาสัมพันธ์ รู้ว่ากลุ่มเป้าหมายมักจะรับข่าวสารทางไหน จะได้วางแผนการประชาสัมพันธ์ได้ถูกต้อง ต้องมีเป้าหมายว่าจะดำเนินงานใดในเวลาใด และในสถานที่ใด

การสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ

ข้อเปรียบเที่ยบ Pr คือการประชาสัมพันธ์ Ad คือการโฆษณา PR 1 เผยแพร่นโยบายและการนำเนินงาน = พูดถึงภาพรวม อะไร เป็นมาอย่างไร AD 1 เผยแพร่สินค้าและบริการ = พูดแบบเจาะจง โดยหลักการแล้ว PR กับ Ad นั้นไม่ได้เป็นเรื่องเดียวกัน ------------------------------------------------------------------ PR 2 มุ่งสร้างภาพลักษณ์ image AD 2 มุ่งที่จะขายสินค้า ------------------------------------------------------------------ PR 3 การเผยแพร่อาจจะต้องใช้เงินหรือไม่ต้องใช้เงินก็เป็นได้ AD 3 มักจะต้องจ่ายเงินเพื่อทำการโฆษณา ------------------------------------------------------------------ PR 4 ระยะหวังผลต้องใช้เวลานาน AD 4 หวังผลในระยะสั้น ต้องการ ได้ผลแรง เร็ว ในการขายสินค้า ------------------------------------------------------------------ ทั้ง PR และ AD ต้องอาศัยการสื่อสารออกไป ------------------------------------------------------------------

Popaganda โฆษณาชวนเชื่อ

การโฆษณาชวนเชื่อ ไม่ใช่รูปแบบของการสื่อสาร แต่เป็น วิธีของการสื่อสาร

ถ้าอ.ถามถึง โฆษณาสินค้า ก็ อย่า เอา โฆษณาชวนเชื่อ มาตอบ ดังนั้นให้เราแยกให้ออกว่าอันไหนคือการสื่อสารแบบใด

ถามว่า ถ้าได้ยินโฆษณาชวนเชื่อจะรู้สึกอย่างไร ส่วนใหญ่นร, จะตอบว่ารู้สึกไม่ดี โฆษณาชวนเชื่อ เป็นการสื่อสารที่พยายามที่จะครอบงำบุคคลอื่น โดยไม่คำนึกถึงความเป็นจริงในเนื่อหาของข่าวสาร หรือ ทำอย่างไรก็ได้ในอีกคนเห็นด้วย โดยใช้ทุกวิธีการทั้งวัจนภาษาและ อวัจนภาษา หรือ การปลุกเร้าให้รู้สึกรัก โลภ โกรธ หลง เช่นการปลุกเร้าของกลุ่มเสื้อแดง(ความคิดเห็นส่วนตัว) หรือ การม่งเน้นเปลี่ยนแแปลงทัศนคติ และควบคุมการกระทำของผู้รับสาร เมื่อเราทำการ Popaganda ไปแล้วบุคคลเป้าหมายไม่เชื่อ เรามักจะมีความโกรธแค้นผู้รับสาร แต่ถ้าผู้รับสารเชื่อ ผู้ที่ทำการ Popaganda ก็จะดีอกดีใจ 

Popaganda มีสองแบบ คือ ในทางบวก และ ในทางลบ

Popaganda ในทางบวก + เช่น การรณรงค์ให้เลิกดื่มเหล่าสูบบุหรี่ Popaganda ในทางลบ - เช่น การให้หลักฐานอ้างอิงบางอย่างมาสนับสนุนให้กับเรื่องที่จะโน้มน้าวใจโดยที่เรื่องนั้นอาจไม่จริง หรือไม่เป็นเหตุเป็นผลต่อกัน มักใช้ในการปิดบังอำพราง บิดเบือนความจริง การคุยโม้โอ้อวดเกินความเป็นจริง ปรุงแต่งข้อมูลข่าวสาร

ข้อเปรียบเทียบระหว่าง โฆษณาชวนเชื่อ กับการประชาสัมพันธ์

โฆษณาชวนเชื่อ จะ มุ่งสร้างอิทธิพลเหนือการกระทำผู้อื่น โดยเปลี่ยนทัศนคติ แต่ การประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้ความเข้าใจที่ดีขององค์กร ต่อประชาชน ------------------------------------------------------------------------------- โฆษณาชวนเชื่อ จะ อำพราง บิดเบือนข้อมูล ให้หลงเชื่อ แต่ การประชาสัมพันธ์ จะ ให้ข้อมูลที่เป็นจริง (ไม่มั่ว) ------------------------------------------------------------------------------- โฆษณาชวนเชื่อ จะ ปิดบังซ่อนเร้นการกระทำ หรือที่มาของข่าว แต่ การประชาสัมพันธ์ จะ เปิดเผยว่าใครเป็นผู้ให้ข้อมูล(มีความรับผิดชอบ) ------------------------------------------------------------------------------- โฆษณาชวนเชื่อ จะ ใจร้อน หวังผลให้เกิดขึ้นเร็วๆ แต่ การประชาสัมพันธ์ จะ ใช้เวลาให้การสร้างฐานของความนิยม แต่เป็นไปอย่างช้าๆ ------------------------------------------------------------------------------- แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น

โฆษณาชวนเชื่อ และ การประชาสัมพันธ์ ยังไงก็ต้องใช้การสื่อสารออกไปเพื่อให้คนอื่นได้รับรู้

-------------------------------------------------------------------------------

กลยุทธของการโฆษณาชวนเชื่อ

  1. การตั้งฉายา (Name Calling) เช่นรัฐบาลทรราช เฒ่าหัวงู ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ เมื่อมีการใช้ชื่อเหล่านี้จะทำให้ผู้รับสารลืมที่จะใช้เหตุผลได้
  2. การใช้คำพูดหรูหราไพเราะ เพื่อกล่อมคนฟัง ใส่น้ำหวานลงไปบางทีก็เลี่ยน
  3. ใช้ความรู้สึกเชื่อมโยง เช่น เมื่อนักกีฬาไทย เอาธงชาติไทยออกมาสะบัดในการแข่งขันก็จะทำให้ประชาชนคนไทยรู้สึกว่าเขากับเราเป็นพวกเดียวกัน ก็จะทำให้เกิดการเข้าข้างนักกีฬาไทยคนนั้น
  4. การใช้การยืนยัน เช่นการใช้หลักฐานทางสถิติ ตัวเลข หรือคำพูดของผู้มีอิทธิพล มาช่วยยืนยัน ผู้มีผู้มีอิทธิพล หรือ ผู้มีเกียรติยศ เช่น นักแสดง นักการเมือง คนดัง นักกีฬา
  5. การใช้ความใกล้ชิดคล้ายคลึง (Plain Folks) เช่นการเข้าไปนั่งจกปลาร้ากับชาวบ้านเพื่อทำให้เกิดความรู้สึกเป็นพวกเดียวกัน
  6. การบอกไม่หมด หรือการเลือกใช้ข้อมูลบางส่วน (Card Stacking) จะบอกในส่วนที่จะทำให้ผู้รับสารเกิดความต้องการขึ้น เท่านั้น ส่วนเสียจะเก็บเงียบไว้ ทำให้ผู้รับสารไม่ทันเกม
  7. การรวมกลุ่มชน (The Bandwagon) ธรรมชาติของมนุษย์ต้องการเป็นคนส่วนใหญ่ ไม่ต้องการเป็นคนส่วนน้อย ดังนั้นถ้าทำให้ผู้รับสารเห็นว่าสิ่งที่เราต้องการโน้มน้าวนั้นคนส่วนใหญ่ได้ทำและยอมรับแล้ว ก็จะทำให้ผู้รับสารเกิดการยอมรับได้โดยง่าย

No comments:

Post a Comment